Saturday, August 2, 2014

chemistry acid-base-37



    Mr.Rittichai   Sae Tia
    Cell phone : +66843315969 / 0843315969
    Home phone : +6624769832/ 024769832
    23/14 Moo5, Soi Suksawad14,
    Suksawad Rd.,Jomtong,
    Bangkok - Thailand


# h1chepat2_37    PAT2  วิชาเคมี   เดือนมีนาคม  2553
37. เกลือในข้อใดละลายน้ำแล้วได้สารละลายเบสที่เป็นเบสทั้งหมด

1.  CH3COONa    NaCN     KNO2   2.  NaCl    NaCN    KNO2
3.   NH4Cl     CH3COONa    CH3COONH4   4.   NaCN     NH4Cl    KNO2

Strategy - the rule "Must have" of Mr.Zhang ®

สิ่งที่โจทย์ให้
เกลือที่ละลายน้ำให้สมบัติเป็นทั้งกรดและเบส
สิ่งที่โจทย์ถาม
เกลือที่ละลายน้ำให้สมบัติเป็นเบสทั้งหมด
สิ่งที่เรารู้
เกลือที่มีคุณสมบัติเป็นเบส เกิดจาก กรดอ่อน + เบสแก่

ไฮโดรไลซิสของเกลือ หมายถึงปฏิกิริยาของเกลือกับน้ำแล้วทำให้สารละลาย
ของเกลือนั้นมีสมบัติเป็นกรดอ่อนหรือเป็นเบสอ่อนเพราะไอออนบางชนิดที่
แตกตัวออกจากเกลือเมื่อเป็นสารละลายจะไปทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วให้
H3O+ หรือ  OH- เมื่อนำเกลือมาละลายน้ำ จะทำให้ pH เปลี่ยนแปลงหรือไม่นั้น
เกิดจากเกลือที่เกิดขึ้นนั้นสามารถทำปฏิกิริยากับน้ำได้หรือไม่

เมื่อทำปฏิกิริยาแล้วทำให้เกิดไฮโดรเนียมไอออน (H3O+)
หรือไฮดรอกไซด์ไออน (OH-)  เกิดขึ้น
ถ้าเกิดไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ขึ้นจะทำให้สารละลายเป็นกรด
และถ้าเกิดไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-)  จะเป็นเบสเกิดขึ้น



ตารางที่ควรจดจำ
 ปฏิกิริยาของ
   กรด + เบส   
 องค์ประกอบ
    ของเกลือ    
 ไอออนที่เกิด
 ไฮโดรไลซิส 
   pH ของ
 สารละลาย 
 สมบัติของ
 สารละลาย 
 ตัวอย่าง
    เกลือ    
1. กรดอ่อน + เบสแก่   ไอออนลบจากกรดอ่่อน
 ไอออนบวกจากเบสแก่ 
 ไอออนลบ     > 7     เบส   CH3COONa,
 NaF,KCN 
2. เบสอ่อน + กรดแก่   ไอออนลบจากกรดแก่
 ไอออนบวกจากเบสอ่อน 
 ไอออนบวก     < 7     กรด   NH4Cl, NH4Br
 NH4NO3 
3. กรดแก่+ เบสแก่   ไอออนลบจากกรดแก่
 ไอออนบวกจากเบสแก่ 
 ไม่มีไอออนใด
เกิดไฮโดรไลซิส 
    7     กลาง   NaCl, KNO3
 KCl, Na2SO4

พิจารณา CH3COONa ซึ่งเป็นเกลือของกรดอ่อน
CH3COOH(aq) + NaOH(aq)CH3COONa + H2O

CH3COONaCH3COO- + Na+

CH3COO- + H2OCH3COOH + OH-


ไอออนของเกลือที่มาจากกรดอ่อน 
CH3COO+ น้ำสาร (CH3COOH) + (OH-)



พิจารณา NH4Cl ซึ่งเป็นเกลือของเบสอ่อน
เมื่อปฏิกิริยาเกิดอย่างสมบูรณ์ ณ สภาวะสมดุลพบว่าสารละลาย
มีสมบัติเป็นเบส เนื่องจากมี OH-
เหลืออยู่ในสารละลาย
ส่วน Na จะอยู่อิสระโดยมี H2O ล้อมรอบ


NH3(aq) + HCl(aq)NH4Cl(aq) + H2O(l) 


NH4ClNH+4 + Cl-

NH+4(aq) + H2O(l)NH3(aq) + H3O+(aq) 

ไอออนของเกลือที่มาจากเบสอ่อน
NH+4
+ น้ำ


สาร NH3 +  (H3O+)
Cl- จะอยู่อย่างอิสระโดยมีโมเลกุลของน้ำล้อมอยู่
เมื่อปฏิกิริยาเกิดอย่างสมบูรณ์ ณ สภาวะสมดุลจะ
ได้สารละลายมีสมบัติเป็นกรด เนื่องจากมี H+ เหลืออยู่
*** มาถึงตรงนี้เราสามารถตัดตัวเลือกข้อ 3 และข้อ 4 ออกไปครับ

เรามาพิจารณาตัวเลือกที่ 2 , NaCl


NaCl เป็นชนิดของเกลือที่เกิดจากไอออนลบจากกรดแก่และ
ไอออนบวกจากเบสแก่ จะแสดงสมบัติเป็นกลาง
กรดแก่-เบสแก่จะมีความสามารถในการละลายน้ำให้สารละลายที่มี
ไอออนได้มากซึ่งแสดงว่ามีความแรงของกรดหรือเบสสูง
1. กรดแก่จะสร้าง ไฮโดรเนียมไอออน H3O+  ให้เกิดขึ้น
   เบสแก่จะสร้าง ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) ให้เกิดขึ้น
2. กรดแก่และเบสแก่แตกตัวได้ 100 % ในการแตกตัว
   ของกรดแก่และเบสแก่มีแต่เฉพาะปฏิกิริยาไปข้างหน้าจีงไม่เกิดสมดุลขี้น
   สารละลายจะแสดงสมบัติเป็นกลาง (pH=7) และประจุจะไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ

กรดแก่
   เมื่อ Hydrogen Chloride ละลายในน้ำก็จะทำให้เกิดกรด Hydrochloric(HCl), :
   ไฮโดรเจนครอไรด์, H-Cl, เป็นสารประกอบโมเลกุลซึ่งอยู่ในรูปแก๊สที่อุณหภูมิห้อง.
   เมื่อแก๊ส HCl ละลายในน้ำ, HCl โมเลกุล ทั้งหมดทำปฏิกิริยากับน้ำ ในการผลิต
   คลอไรด์ไอออน (Cl-)    และไฮโดรเนียมไอออน(H3O+).
   ตัวอย่างสารละลายกรดไฮโดรคลอลิก(HCl) และการแตกตัว


HCl(g)HCl(aq)  
HCl(aq) + H2O(l)H3O+(aq) + Cl-(aq)

เบสแก่
เมื่อละลายในน้ำ, ตัวเบสแก่ (NaOH) Sodium hydroxide แตกตัวให้ hydroxide ions(OH-)
และ Sodium ions(Na+): ตามทฤษฎี กรด-เบส ของอาร์เรเนียส.
NaOH
Na+ + OH-

กรดแก่กับเบสแก่ทำปฏิกิริยาได้เกลือกับน้ำและมีสมบัติของสารละลายเป็นกลาง
HCl + NaOHH2O + NaCl 
H+(aq) + Cl-(aq) + Na+(aq) + OH-(aq)
H2O + Cl-(aq) + Na+(aq)
H+(aq) + OH-(aq) H2O


กรดแก่กับเบสแก่ทำปฏิกิริยากันได้เกลือ NaCl กับน้ำและมีสมบัติของสารละลายเป็นกลาง
*** เราสามารถตัดตัวเลือกข้อ 2 ออกไปครับ
ข้อที่ 1 ถูกต้องครับ      ✔
ข้อที่ 2 ผิดครับ      ✘
ข้อที่ 3 ผิดครับ      ✘
ข้อที่ 4. ผิดครับ      ✘



"เกิดเป็นคนต้องช่วยตนเสียก่อน แล้วกลับย้อนช่วยคนอื่นจึงจะได้
ต้องรู้จักฝึกหัดทั้งกายใจ จึงค่อยไปแนะคนอื่นให้ทำตาม"


"ถ้าใครเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยต่อเนื่อง สร้างความดี ให้ติดต่อกัน
สร้างความดี ถูกตัวบุคคล ถูกสถานที่ ถูกเวลา ต่อเนื่องกันเสมอต้น
เสมอปลายแล้ว คนนั้นจะได้รับผลดี ๑๐๐% และจะเอาดี ในชาตินี้ได้
ไม่ต้องรอดีถึงชาติหน้า"


ธรรมปฏิบัติ : สวดมนต์เป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน

No comments:

Post a Comment